วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรต้านโรคมะเร็ง

พลูคาว เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี อยู่ในวงศ์ SAURURACEAE ต้นสูง 15-30 ซม. ทั้งต้นมีกลิ่นคาวแรงมาก ลำต้นและใบเป็นสีเขียว เป็นข้อ ๆ ลำต้นจะทอดเลื้อยไปตามหน้าดิน สามารถแตกรากออกตามข้อต้นได้ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ เป็นรูปหัวใจ โคนก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้นบริเวณข้อ



ดอก ออกที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะไม่มีกลีบดอกและก้านดอก ผล ทรงกลม เมื่อผลแห้งแตกได้ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ต้นและใบกินเป็นอาหารได้ นิยมกันแพร่หลายทางภาคเหนือ โดยจะกินเป็นผักสด กับลู่เลือด ลาบ ก้อยดิบ น้ำพริกชนิดต่าง ๆ เมื่อเคี้ยวหรือขยี้จะมีกลิ่นคาวรุนแรงมาก คนไม่ค้นเคยจะไม่กล้ากินอย่างเด็ดขาด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น



พลูคาว ชนิดที่ลำต้นและใบเป็นสีเขียวนี้ นักวิจัยจาก 5 สถาบันระบุว่า เส้นกระดูกหลังใบที่เป็นสีแดง มีสารเฮลตี้แบคทีเรีย มีจุลินทรีย์ และแอดโตแบซิลลัส ชนิดหนึ่งที่ไปกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หยุดการเจริญเติบโตในร่างกายของมนุษย์ โดยต้านทานเนื้องอกให้ทำงานง่ายขึ้น พร้อมขับพิษที่จะเป็นสารก่อมะเร็งออกจากร่างกาย โดยนักวิจัยจาก 5 สถาบัน ได้สกัดเป็นยาน้ำทดลองให้ผู้ป่วยเป็นมะเร็ง 5 ชนิดคือ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก เนื้องอกบริเวณสมองและเนื้องอกของ SOFT TISSUE SARCOMA โดยให้ดื่มบำรุงกำลังควบคู่กับการรักษาของคณะแพทย์ด้วยการฉายรังสี ปรากฏว่า ผู้ป่วยหายเร็วกว่าการรักษาแบบปกติหรือแบบเดิม ดังนั้น พลูคาว จึงถือเป็นพืชผักกินได้ที่มีประโยชน์อย่างมหาศาล


อย่างไรก็ตาม พลูคาว ยังมีอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า พลูคาวแดง มีข้อแตกต่างจากชนิดแรกที่เป็นสีเขียวเพียงจุดเดียว คือ ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีแดงอมม่วง อย่างอื่นเหมือนกันหมด ซึ่งพลูคาวแดง ใบมีสรรพคุณแก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้งแก้โรคผิวหนังทุกชนิด ตำราจีนใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อทางเดินปัสสาวะ คนไทยภาคเหนือกินพลูคาวป้องกันมะเร็งมานานแล้ว ซึ่งพลูคาวชนิดสีเขียวมีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทักวันพุธ-พฤหัสบดี บริเวณโครงการ 24 แผงคุณนิด-คุณแก้ว-คุณหล้า ส่วนพลูคาวแดง โครงการ 2 แผงคุณพร้อมพันธุ์ ราคาสอบถามกันเอง




มะเร็ง


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เซลล์เจริญ(แบ่งตัว) อย่างผิดปกติ การที่เซลล์เปลี่ยนสภาพไปจากปกติจะไม่อยู่ในการควบคุมวัฏจักรการแบ่งตัว รุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียง หรืออาจแพร่กระจายไปยังที่อื่น ๆ (การแพร่กระจายของเนื้อร้าย) ลักษณะทั้งสามประการที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของเนื้อร้ายซึ่งต่างจาก เนื้องอก ซึ่งไม่ร้ายแรงเพราะไม่รุกรานหรือแพร่กระจาย และขนาดจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มะเร็งทั้งหมดยกเว้นมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ


มะเร็งเกิดขึ้นได้โดยสารพันธุกรรมหรือยีนซึ่งควบคุมการทำงานของเซลล์ผิดปกติไป โดยที่ความผิดปกติของสารพันธุกรรมนั้นเป็นผลมาจากสารก่อมะเร็ง อาทิ ยาสูบ ควัน รังสี สารเคมีอย่างอื่น หรือ เชื้อโรค ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งอาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่จำเพาะเจาะจงระหว่างการทำสำเนาของดีเอ็นเอ หรืออาจถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในทุกเซลล์หลังจากคลอด การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของมะเร็งนั้นได้รับอิทธิพลจากปัจจัยอย่างอื่นๆ ด้วย


นักวิจัยของคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมาเลเซียได้พบว่า ฟักทองสามารถสะกดเซลล์มะเร็งเพราะฟักทองมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้แป้งเป็นของที่ไม่อาจจะย่อยได้ จึงหมักพวกแบคทีเรียเอาไว้ และบ่อน ทำลายเซลล์มะเร็งให้อ่อนแอ



นักวิจัยที่อังกฤษ ดร.กิลเลียน รีฟส์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยกลางคนในอังกฤษราว 6,000 คน เป็นมะเร็งมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความอ้วน โดยงานวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างน้ำหนักกับโอกาสเสี่ยงที่เป็นมะเร็งนั้น ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้หญิงด้วย และทางกองทุนวิจัยมะเร็งโลก ผู้ประกาศเตือนว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง ดังต่อไปนี้ คือ มะเร็งมดลูก มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งที่ไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งทรวงอก มะเร็งไขกระดูก มะเร็งที่ตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอน-ฮอดจ์กิ้น และมะเร็งรังไข่


มีงานวิจัยหลายชิ้นที่พบว่า อัตราการเป็นมะเร็งทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมาก มีมากในกลุ่มคนที่ทำงานตอนกลางคืน


มะเร็งกำเนิดจากเซลล์ร่างกายที่สามารถแบ่งเซลล์ได้วิวัฒนาการจนไม่สามารถควบคุมได้มีกระบวนการวิวัฒนาการโดยการเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมนั้นๆทำให้ผลิตเอนไซม์มาสร้างทีโลเมียในเซลล์อย่างไม่หมดสิ้นทำให้เซลล์ไม่สามารถหยุดแบ่งเซลล์ได้ เพิ่มเติม ทีโลเมียเปรียบเหมือนนาฬิกาทีนับถอยหลังไปเรื่อยๆขณะนั้นเซลล์ยังสามารถแบ่งเซลล์ต่อไปโดยทีโลเมียจะหดสั้นลงเรื่อยๆและเมื่อสายทีโลเมียหมดก็จะทำให้เซลล์หยุดแบ่งตัวทำให้มนุษย์ไม่สามารถอยู่ยงคงกระพันต้องหยุดเจริญเติบโต แต่ทีโลเมียของเซลล์มะเร็งไม่หดสั้นลงทำให้เติบโตโดยควบคุมหยุดยั้งไม่ได้



มะเร็งในประเทศไทย


ในพ.ศ. 2549 ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 66,000 ราย โดยในผู้ชายพบมะเร็งปอดมากที่สุด 5,535 ราย รองลงมาคือโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด 1,484 ราย รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม



อาหารต้านมะเร็ง


นักวิจัยเชื่อว่า พฤติกรรมการดำรงชีวิตมีสัมพันธ์ต่อปัจจัยความเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นอย่างมาก นักวิจัยยังเชื่ออีกว่าการ กว่า หกสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งทั้งหมด อาจจะไม่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ ถ้าหากยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงชีวิต และการพฤติกรรม การกินก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เป็นอย่างมาก อาหารบางประเภท มีสารที่ต้านอนุมูลอิสระได้สูงและป้องกันการเกิดมะเร็งได้ดี เราเรียกอาหารประเภทนี้ว่า อาหารต้านมะเร็ง บร็อคโคลี่, อโวคาโด ,แครอท, และ กะเทียม เป็นหนึ่งในอาหารต้านมะเร็งที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป